วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชูธง ๖ เดือน ๖ คุณภาพ

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ๓๓๓/๒๕๕๓
ชูธง ๖ เดือน ๖ คุณภาพ

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ ๒๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศธ.กล่าวถึงจุดเน้นของ ศธ.ในการดำเนินงานตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ตามนโยบาย ๖ เดือน ๖ คุณภาพ ดังนี้

เรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ จะมีการนำเงินงบประมาณ ๘ หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ดำเนินการให้ลงไปสู่สถานศึกษาอย่างแท้จริง โดยให้กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณเพื่อ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สพฐ. จัดวางระบบ เพื่อให้ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาเข้ามาร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา ในการพิจารณากรอบการใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ศธ.จะประกาศชัดเจนว่าผู้เรียนในแต่ละระดับ ควรมีจุดเน้นในการพัฒนาอย่างไร เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ประชาชนได้เห็นอย่างชัดเจนและมีส่วนร่วมในการพัฒนา ผู้เรียนต่อไป โดยการศึกษาในระดับปฐมวัยก็จะเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสมองเด็กไทยให้ได้ รับสารไอโอดีน และมีคุณลักษณะใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็จะมีการเน้นเป็นช่วงชั้นอย่างชัดเจน เช่น ป.๑-ป.๓ จะเน้นให้มีการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ใฝ่ดี มีวินัย มีความรับผิดชอบ, ป.๔-ป.๖ จะเน้นที่การอ่านคล่องเขียนคล่อง มีทักษะในการคิดขั้นพื้นฐาน มีทักษะชีวิตเพื่อการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ใฝ่ดี ใฝ่รู้ มีจิตสาธารณะ, ม.๑-ม.๓ มีทักษะในการคิดชั้นสูง มีทักษะชีวิต รู้จักการแก้ไขปัญหา ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่อย่างพอเพียง, ม.๔-ม.๖ มีทักษะในการคิดชั้นสูง ทักษะชีวิตในการแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี การรักการเรียนรู้ การค้นพบตัวเอง การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของระดับนี้คือ มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความมุ่งมั่น มีความเป็นพลเมืองดี ระดับอาชีวศึกษาจะมุ่งเน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ มีความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ ระดับ มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ และส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขัน มุ่งเน้นเรื่องสหกิจศึกษา โดยจะให้มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ให้มหาวิทยาลัยสนองตอบต่อการช่วยเหลือสังคมโดยมี ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด โดยจุดเน้นดังกล่าวจะมีการประกาศจุดเน้นและจัดกิจกรรมในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

คุณภาพการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้ กศน.ตำบลเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตลอดชีวิต ให้ กศน. ตำบลเป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ที่เป็นการเรียนฟรี สำหรับประชาชนวัยทำงาน ๓๐ ล้านคน และเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของประชาชนนอกระบบทั้งหมด สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ส่งเสริมเรื่องทักษะชีวิต และความเป็นพลเมือง โดยจะมีการประกาศในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ จะมุ่งเน้นเรื่องโรงเรียนดีประจำตำบล ด้านคุณภาพ ความเสมอภาค และความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน โดยใช้ยุทธศาสตร์ ๗๗๗ ซึ่งจะประกาศในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ดังนี้

- ๗ แรก ในการดำเนินการแรก คือ การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลใน ๔ เดือนแรก มีเป้าหมายในการดำเนินการ ๗ประการ ได้แก่ ๑.มีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจน ๒.มีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน ๓.โรงเรียนมีความสะอาด ๔.มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น ๕.มีบรรยากาศอบอุ่น ๖.มีความปลอดภัย ๗.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ

- ๗ ที่สอง คือ การพัฒนาใน ๔ เดือนต่อมา ที่จะมีการพัฒนา ๗ ประการ ได้แก่ ๑.มีห้องสมุด ๓ ดี ๒.มีห้องปฏิบัติการ ๓.มีศูนย์การเรียนรู้อาชีพ ๔.มีศูนย์กีฬาชุมชน ๕.มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ ๖.มีครูที่ใช้แหล่งเรียนรู้และใช้ไอซีที ๗.มีการบริหารที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

- ๗ ประการสุดท้าย จะเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ๑.มี ร.ร.ที่มีชื่อเสียงดี มีความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน ๒.มีนักเรียนที่ใฝ่รู้ ๓.มีนักเรียนใฝ่เรียน ๔.มีนักเรียนใฝ่ดี ๕.มีความเป็นไทย ๖.มีสุขภาพดี และ ๗.รักงานอาชีพ

เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ศธ.จะ มีการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อดำเนินการให้ไปเป็นไปตามนโยบายของ ศธ. โดยในครั้งแรกรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน ๕ ล้านบาท กทช.สนับสนุนให้อีก ๗๕ ล้านบาท ขณะนี้ได้ดำเนินการเปิดบัญชีกองทุนแล้ว โดยในการประชุมคณะกรรมการกองทุน รมว.ศธ ได้มอบหมายทั้งหมด ๔ เรื่อง คือ - เรื่องกฎหมายในการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา - การดำเนินการกองทุนให้มีสำนักงานกองทุนที่ชัดเจน - บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้มาทำงานร่วมกัน เพื่อที่จะยกระดับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา - จัดกิจกรรมเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาการศึกษาตามเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง โดยยึดหลัก 3N ได้แก่ Ned Net โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEIS ศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLC ศูนย์เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

คุณภาพครู จะมีการพัฒนาคุณภาพครูทั้งระบบ ทั้งการผลิต การพัฒนาการใช้ การพัฒนาค่าตอบแทน การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู โดยในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา ถือว่ามีการพัฒนาไปมากพอสมควร ทั้งเรื่องการปรับฐานเงินเดือน การแก้ไขกฎ ก.ค.ศ.เพื่อให้ครูชั้นผู้น้อยได้มีค่าตอบแทนเพียงพอและเหมาะสมกับวิชาชีพ การแก้ไขกระบวนการในการดูแลเรื่องวิทยฐานะของครู โดยในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ จะมีการพัฒนาครูอย่างเข้มข้น เช่น การคืนครูให้นักเรียน การพัฒนาครูแนวใหม่ การประเมินวิทยฐานะแบบเน้นผลงาน

รมว.ศธ.กล่าว สรุปว่า ได้มอบหมายให้องค์กรหลักทั้งหมดรับไปปฏิบัติ โดยบูรณาการให้มีความเชื่อมโยงกันตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละ องค์กรหลัก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ๖ เดือน ๖ คุณภาพ.

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณภาพ ICT เพื่อคุณภาพการศึกษาไทย

คุณภาพ ICT เพื่อคุณภาพการศึกษาไทย
รมว.ศธ. กล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีว่า กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาของประเทศไทย โดยมีพันธกิจสำคัญในการสร้างเสริมโอกาสทางการศึกษา สร้างระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานการศึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสติปัญญาให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน ให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

จากผลการ ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแผนการขับเคลื่อน (Roadmap) การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๗ ด้วยวงเงินงบประมาณในปี ๒๕๕๔ จำนวนทั้งสิ้น ๑๐๙,๔๕๐ ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการ ๔ แผนหลัก คือ ๑) แผนพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ๓๐ โครงการ งบประมาณ ๑๕,๗๙๘ ล้านบาท ๒) แผนพัฒนาครูยุคใหม่ ๙ โครงการ งบประมาณ ๗,๓๙๓ ล้านบาท ๓) แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ๑๒ โครงการ งบประมาณ ๙,๔๔๓ ล้านบาท ๔) แผนพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ๑๗ โครงการ งบประมาณ ๗๖,๘๑๕ ล้านบาท

กระทรวงศึกษาธิการจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาและ ประยุกต์ใช้ ICT เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายดังกล่าว และการขยายตัวทางการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยได้จากการแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประทศ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ จำนวนประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ เครื่อง และปีนี้อีกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ เครื่อง ได้มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ ให้มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้ ICT ทั้งในด้านการบริหารและการเรียนการสอน รวมทั้งมีการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาทุกระดับ

นอก จากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายในทางปฏิบัติ ที่เรียกว่า 3Ns โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงความสำคัญในการใช้ ICT เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนการสอน รวมทั้งคุณภาพของ ICT ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย ได้แก่

ระบบ เครือข่ายเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (National Education Network หรือ NEdNet) คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบเครือข่าย เพื่อใช้เป็นเส้นทางหลักในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ สาระการเรียนรู้ ผลงานวิจัย และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาไปยังสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศูนย์สารสนเทศด้าน การศึกษาแห่งชาติ (National Education Information System หรือ NEIS) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการสืบค้น การประมวลผล และการเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลสำคัญทางด้านการบริหารจัดการของกระทรวง ศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ (National Learning Center หรือ NLC) คือ การพัฒนาศูนย์กลางการรวบรวม และเชื่อมโยงสาระความรู้ของการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนถึงการวิจัยของผู้เรียนและประชาชน

การดำเนินงานเพื่อบรรลุ เป้าหมายดังกล่าว นอกจากจะมีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว ยังมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยได้รับการสนับสนุนด้วย เงินงบประเดิมกองทุนจากรัฐบาลจำนวน ๕ ล้านบาท และจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จำนวน ๑๐๐ ล้านบาท โดยจะมอบให้ในครั้งนี้ ๗๕ ล้านบาท และจะมอบในเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ อีก ๒๕ ล้านบาท

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ได้อะไรจากการอ่านหนังสือ WINNING WITH PEOPLE

หนังสือ WINNING WITH PEOPLE

จอห์น ซี แมกซเวลล์ (1947- ) มีภูมิหลังมาจากบาทหลวง ปัจจุบันเป็นนักเขียนหนังสือและผู้นำสัมมนาการฝึกอบรมเรื่องภาวะผู้นำคน สำคัญ หนังสือเรื่อง THE 21 IRREFUTABLE LAWS OF LEADERSHIP (1999) – กฎแห่งภาวะการนำที่ปฏิเสธไม่ได้ 21 ข้อ เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านเล่ม

ในบรรดากฎเหล่านี้ รวมทั้งกฎเช่น การเชื่อถือไว้วางใจ คือ รากฐานที่สำคัญของภาวะการนำ; ภาวะผู้นำต้องใช้เวลาพัฒนาทุกวัน, ไม่ใช่จะพัฒนาได้ในวันเดียว; การนับถือคนอื่น; การมีการหยั่งรู้แบบญาณสังหรณ์; การเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดคน; การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น; การรู้จักเลือกว่าอะไรสำคัญ; การทำงานแบบเสียสละ และการรู้จักมอบหมายงานความรับผิดชอบให้คนอื่น

เขาเขียนหนังสือ เรื่องภาวะผู้นำที่มีชื่อเสียงอีกหลายเล่ม รวมทั้งเดินทางไปเป็นผู้นำสัมมนาให้ผู้นำองค์กรทั้งโลก(รวมทั้งเมืองไทย) มากกว่า 1 ล้านคนมาแล้ว

หนังสือเรื่อง WINNING WITH PEOPLE ของเขาอธิบายหลักการ 25 ข้อ ในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีขึ้นและพัฒนาความสามารถของเราไปพร้อมกับเครือ ข่ายความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น เขาได้ศึกษาผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเปิดเผยถึงเคล็ดลับของคนที่มีทักษะ ด้านการเข้ากับผู้คนได้ดีที่สุด

แกนกลางที่แมกซเวลล์ เสนอคือ ผู้คนและองค์กรทำงานได้ดีขึ้น ถ้าผู้นำตระหนักและฟูมฟักดูแลเรื่องของความเป็นมนุษย์ (HUMAN ELEMENT) อย่างเอาใจใส่

ในหนังสือ WINNING WITH PEOPLE เขาย้ำความสำคัญของการพัฒนาคุณสมบัติในการที่จะเข้ากับผู้คนได้ดีและสร้าง ความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง เขามองว่าในชีวิตส่วนใหญ่ของทุกคน ต้องพึ่งพาความสัมพันธ์ประเภทที่จะฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ไม่ว่าจะเกิด อะไรขึ้น (RESILIENT) ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน จึงเป็นการให้เครื่องมือกับเราในการที่จะสร้างองค์กรให้ดีขึ้นได้

หนังสือ WINNING WITH PEOPLE มีชื่อรองว่า DISCOVER THE PEOPLE PRINCIPLES THAT WORK FOR YOU EVERY TIME (ค้นพบหลักการเรื่องคนที่จะใช้ได้ผลทุกเวลา) เนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือ

1. ประเด็นเรื่องความพร้อม: เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?

2. ประเด็นเรื่องการเชื่อมโยง: เราเต็มใจที่จะเพ่งความสนใจไปที่คนอื่นหรือไม่?

3. ประเด็นเรื่องความเชื่อถือไว้วางใจ: เราจะสามารถสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกันและกัน (MUTUAL TRUST) ได้หรือไม่?

4. ประเด็นการลงทุนลงแรง: เราเต็มใจจะลงทุนเพื่อการพัฒนาคนอื่นหรือไม่?

5. ประเด็นการสร้างผลประโยชน์ร่วมกันแบบทวีคูณ (SYNERGY) : เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์แบบทุกฝ่ายต่างได้ชัยชนะไปด้วยกัน (WIN – WIN RELATIONSHIP) ได้หรือไม่?

ประเด็นเรื่องความพร้อม : เราเตรียมตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือไม่?

บางคนสรุปอย่างง่าย ๆ ว่า เรื่องการเข้ากับคนเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่ไม่เห็นจะมีความสำคัญอะไรเป็น พิเศษ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะในการริเริ่ม, สร้าง และรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีแบบพออกพอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายได้เสมอไป คนหลายคนมีภูมิหลังที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีปัญหา ไม่มีแบบอย่างของความสัมพันธ์ในทางบวกให้เขาเรียนรู้, คนหลายคนพัฒนาเป็นคนที่สนใจแต่ตัวเองและความต้องการของตนเอง โดยไม่ได้ตระหนักถึงคนอื่นและความต้องการของคนอื่นเลย, คนบางคนมีอดีตที่ขมขื่นที่ทำให้เขามองโลกในแง่ร้ายจากกรอบแว่นของประสบการณ์ ความเจ็บปวดของเขา และมีคนจำนวนมากที่มีจุดบอดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี พวกเขาไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง และไม่รู้วิธีที่จะสร้างความสัมพันธ์แบบมีสุขภาพจิตที่ดีกับคนอื่น, คนที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้จะต้องเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีและ มีวุฒิภาวะมากพอสมควร

การสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีนั้นเป็นทักษะประเภทหนึ่งที่คนเราเรียนรู้ได้, ต้องเรียนรู้และพัฒนาให้ได้ เพราะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น คือปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราเข้ากับอาณาบริเวณอื่น ๆ ของชีวิตได้ในทุกเรื่อง การมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การมีชีวิตและการงานที่ประสบ ความสำเร็จและมีความหมาย สิ่งที่แมกซเวลล์พยายามอธิบายคือ เราจะปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีอยู่และพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ที่เข้มแข็งและ น่าตื่นเต้นได้อย่างไร

หลักการเรื่องแว่นที่เราใช้มองคนอื่น

เรามองและตัดสินคน อื่นผ่านแว่นความเป็นตัวตนของเราเอง ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่บวก เชื่อถือไว้วางใจคนอื่น เราจะมองว่าคนอื่นเป็นคนน่าเชื่อถือไว้วางใจ แต่ถ้าเราเป็นคนมองโลกในแง่ลบ มองคนอย่างวิพากษ์วิจารณ์ เราจะมองคนอื่นแบบวิพากษ์วิจารณ์ ถ้าเราเป็นคนที่มีจิตใจที่เมตตาอารี เราจะมองคนอื่นว่าเป็นคนมีเมตตาด้วย

ดังนั้น เราต้องตระหนักว่า ทัศนะของเราต่อคนอื่นนั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากการที่เรามองและตีความว่าคน ๆ นั้นเป็นใคร มากกว่าสิ่งที่คน ๆ นั้นเป็นจริง ๆ ถ้าคุณไม่ชอบคนบางคนเลย เพราะคุณคิดว่าเขามีจุดบกพร่องอย่างโน้นอย่างนี้ นี่คือเรื่องของตัวคุณและวิธีที่คุณมองคนอื่น มากกว่าเป็นเพราะคน ๆ นั้นมีจุดบกพร่องจริง ๆ วิธีการมองของคุณคือตัวปัญหา

ถ้าหากว่านี่คือปัญหา จริง อย่าพยายามไปเปลี่ยนคนอื่น อย่าเพิ่งไปเพ่งความสนใจที่คนอื่น ควรกลับมาเพ่งความสนใจที่ตัวคุณเอง วิเคราะห์ตัวคุณเองว่าคุณมองคนอื่นอย่างมีข้อมูลยืนยันและอย่างเป็นธรรมหรือ ไม่ ถ้าหากคุณเปลี่ยนตัวคุณเองและกลายเป็นคนที่คุณปรารถนาจะได้เป็น คุณจะเริ่มมองคนอื่นในแง่มุมมุมใหม่ และการมองคนในแง่ดีขึ้น ถูกต้องเป็นธรรมขึ้น จะเปลี่ยนวิธีที่คุณมีปฏิกริยาและสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ

หลักการเรื่องกระจกเงาส่องตัวเอง

คนทั่วไปมักไม่ ตระหนักว่าเขาคือใคร และสิ่งที่พวกเขาทำบ่อยครั้งทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบทำลายล้างนี้ได้ คือ เราควรจะกลับมาส่องกระจกเงา เพื่อหาความจริงด้วยการเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเราเอง

การตระหนักถึงตนเอง (SELF AWARENESS) การรู้จักเข้าใจหยั่งรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในตนเอง เช่นเจตคติ แรงจูงใจ ปฏิกริยา การป้องกันตนเองในทางจิตวิทยา จุดแข็ง จุดอ่อน คนเรามักวิเคราะห์คนอื่นไม่ว่าใครต่อใครได้หมด แต่มักจะไม่วิเคราะห์ตนเอง

การมองภาพพจน์ตนเอง (SELF – IMAGE) การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือในแง่ร้าย คือการคาดหมายเกี่ยวกับตัวเราเอง ซึ่งมักจะนำเราไปสู่สิ่งที่เราคาดหมายไว้ การมองภาพพจน์ตนเองในแง่ดีหรือแง่บวก จะทำให้เราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น และทำให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ ได้มากกว่าการมองภาพพจน์ตนเองในแง่ร้ายหรือแง่ลบ

การซื่อสัตย์ต่อตนเอง (SELF HONESTY) การเต็มใจที่จะซื่อสัตย์เกี่ยวกับเรื่องจุดอ่อน, ความผิดพลาดและปัญหาของตัวเราเอง จะช่วยให้เราเรียนรู้และก้าวข้ามอุปสรรคได้ดีกว่าการไม่ซื่อสัตย์หรือหลอกตน เอง เพราะการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองทำให้เราไม่รู้ความจริง และทำให้ตัวเราเองคืออุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดโดยที่เราไม่รู้ตัว และได้แต่โทษคนหรือสิ่งอื่น ๆ

การปรับปรุงตนเอง (SELF IMPROVEMENT) การรู้จักตนเองและการหาทางปรับปรุงตัวเอง ไม่ว่าในเรื่องบุคลิกอุปนิสัย คุณสมบัติ วิธีคิด วิธีควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ฯลฯ เป็นเรื่องที่จะช่วยแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตัวเราเองไปสู่ความสำเร็จได้อย่าง สำคัญ คนที่ไม่รู้จักตัวเองและพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งอื่น โดยไม่คิดเรื่องเปลี่ยนแปลงตัวเอง นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังอาจจะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วย

การรับผิดชอบต่อตนเอง (SELF RESPONSIBILITY) แม้ว่าการประสบความสำเร็จที่สำคัญในทุกเรื่องจะเป็นผลมาจากการทำงานของคน ร่วมกันหลายคน แต่มักจะเริ่มจากวิสัยทัศน์ (VISION) ของคนใดคนหนึ่งเสมอ หากเรามีวิสัยทัศน์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราจะต้องรับผิดชอบด้วยการนำวิสัยทัศน์นั้นไปขยายต่อให้คนอื่น ๆ เห็นด้วย เพื่อที่คนทั้งหลายจะได้ช่วยกันทำวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง